สำนักงานสหกรณ์จังหวัดปราจีนบุรี มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วย การจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2) ส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์ทุกประเภทและกลุ่มเกษตรกร
3) ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และ วิธีการสหกรณ์ ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชน ทั่วไป
4) ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการทำและรวบรวมแผนงาน คำขอตั้งงบประมาณ ติดตามเร่งรัดและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนและโครงการต่าง ๆ รวมทั้งรวบรวมสถิติข้อมูลงานด้านสหกรณ์ ปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์ งานด้านบริหารงานบุคคล งานติดต่อประสานงาน งานสารบรรณ และงานธุรการทั่วไป ตลอดจนดำเนินงานด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีรายละเอียดของงานที่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้ การปฏิบัติงานด้านธุรการ รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณทั่วไป เช่น การรับส่งหนังสือราชการ การควบคุมทะเบียนหนังสือเข้าออกสำนักงานสหกรณ์จังหวัด หนังสือเวียน หนังสือราชการลับ คำสั่ง ประกาศของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด กำหนดอายุหนังสือราชการ งานเก็บค้นหาเอกสารต่าง ๆ การควบคุมการส่งเอกสารของทางราชการทางไปรษณีย์ การร่าง-โต้ตอบหนังสือ การกลั่นกรองหนังสือราชการให้ถูกต้องตามระเบียนงานสารบรรณ การบันทึกนำเสนอหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา การรวบรวมคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานต่าง ๆ ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเกี่ยวข้องทั้งหมด จดบันทึกรายงานการประชุมข้าราชการ และลูกจ้างของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ควบุคม ตรวจสอบการลาพักผ่อน การจัดอยู่เวรยามประจำสำนักงาน ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัด ดำเนินการจัดทำกิจกรรม 5 ส. ของหน่วยงาน ดำเนินการตรวจสอบนำเสนอขอทำลายเอกสารราชการที่พ้นระยะการเก็บรักษาตามระเบียบพัสดุ การปฏิบัติงานเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ รับผิดชอบเกี่ยวกับ ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ |
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมสหกรณ์และพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ โดยเป็นการศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. เผยแพร่ และให้ความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ว่าด้วยเรื่องอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป 2. ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการผลิตในระดับธุรกิจให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด และส่งเสริมการตลาดแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ที่จัดตั้งขึ้นมาให้มีการดำเนินการทางด้านธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มและสมาชิกของกลุ่ม โดยในการดำเนินธุรกิจหรือดำเนินการใด ๆ ของกลุ่มนั้น ถ้ามีผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น จะต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการตลาดด้วย 3. ศึกษา วิเคราะห์ ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์และรูปแบบการจัดการเพื่อให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเป็นการเพิ่มพูนมูลค่าสินค้า เพราะสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่นผลิตขึ้นมา นอกจากจะต้องมีตลาดมารองรับแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือรูปแบบการบรรจุผลิตภัณฑ์หรือหีบห่อก็มีความสำคัญเช่นกัน เพื่อถ้าผลิตภัณฑ์มีรูปแบบการบรรจุที่สวยงามย่อมเป็นที่ต้องการของตลาด จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น 4. ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลด้านการตลาด และส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจการตลาดของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น รวมทั้งหาลู่ทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยทำการรวบรวม สำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารด้านการตลาดและธุรกิจของสหกรณ์ และกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งดำเนินการสำรวจปริมาณและวางแผนการผลิตของสมาชิกและความต้องการของตลาดเพื่อให้ปริมาณการผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาดติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการตลาดและธุรกิจ เพื่อจะได้แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและใช้ประกอบในการวางแผนการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้มีการประชาสัมพันธ์ การกระจายข่าวตามท้องถิ่นเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารได้รับรู้กันโดยทั่วไป 5. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างสหกรณ์กับสหกรณ์ สหกรณ์กับกลุ่มต่าง ๆ หรือสหกรณ์กับบุคคลภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเชื่อมโยงเครือข่ายดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วถึงกัน 6. ประสานงานให้ความช่วยเหลือในการดูแลรักษาและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบดูแล รักษา ซ่อมแซมเทคโนโลยีการผลิตของสหกรณ์หรือกลุ่มต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่อง 7. ให้คำปรึกษา แนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านพัฒนาธุรกิจแก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อให้นำไปกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ 8. ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 9. สนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาสหรกณ์/กลุ่มเกษตรกร โดยวิเคราะห์ความต้องการ สภาพปัญหา แยกแยะและจัดกลุ่มของความต้องการให้ชัดเจน รวมถึงพิจารณาแผนงาน โครงการตามแผนปฏิบัติงานประจำปีของกรม จังหวัด เพื่อเป็นข้อมูลให้กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์นำไปร่วมประชุมเสวนากับคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิกสหกรณ์ 10. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ และกลุ่มต่าง ๆ โดยเป็นการศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการปฎิบัติงาน ดังนี้ 1. เผยแพร่ และให้ความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ว่าด้วยเรื่องอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป 2. ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคล การบริหารการจัดการ และการควบคุมภายในเพื่อพัฒนาให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง โดยการแนะนำช่วยเหลือด้านการวางแผน จัดทำแผนกลยุทธ์ จัดทำโครงการ วิเคราะห์โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งให้คำแนะนำในการวางแผนด้านบุคคลแก่สหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดโครงสร้าง ปริมาณธุรกิจ ระบบงาน และระบบการควบคุมภายในของสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3. ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการ การจัดกาการลงทุน การบริหารเงินทุน และการประกอบธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่น ๆ โดยจะต้องทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของโครงการที่สหกรณ์และกลุ่มเสนอว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ซึ่งเป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน การจัดหาแหล่งเงินทุนรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการบริหารเงินทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่ากับการลงทุน 4. ประสานงานกับกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์เพื่อติดตามประเมินผลการให้สินเชื่อ และเงินทุนที่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่น ๆ ได้รับจากการส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมทั้งเร่งรัดการส่งชำระหนี้ เตือนหนี้ที่จะถึงกำหนดชำระ 5. ให้คำปรึกษา แนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารการจัดการแก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 6. ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7. สนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร โดยวิเคราะห์ความต้องการ สภาพปัญหา แยกแยะและจัดกลุ่มของความต้องการให้ชัดเจน รวมถึงพิจารณาแผนงาน โครงการตามแผนปฏิบัติงานประจำปีของกรม จังหวัด เพื่อเป็นข้อมูลให้กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์นำไปร่วมประชุมเสาวนากับคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิกสหกรณ์ 8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
กลุ่มตรวจการสหกรณ์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ 1. ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์ปฏิบัติหรืองดเว้นปฏิบัติตามที่กฎหมายสหกรณ์หรื่อกฎหมายอื่นกำหนด รวมถึงข้อบังคับระเบียบสหกรณ์ ระเบียบหรือคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ พร้อมจัดทำรายงานเสนอนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อทราบหรือพิจารณา 2. ศึกษา วิเคราะห์ แนวทางการตรวจการสหกรณ์ให้เกิดประสิทธิภาพ 3. ศึกษา วิเคราะห์ การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ การร้องเรียนการดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อนำเสนอนายทะเบียนสหกรณ์วินิจฉัยหรือสั่งการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมวางแนวทางการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟู 4. ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของนายทะเบียนสหกรณ์ 5. ช่วยเหลือนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ในการเตรียมการหรือทำคำสั่งทางปกครองให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางปกครอง 6. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ 7. ประสานการทำงานร่วมกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ 8. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย 9. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย |
กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ 1. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วยกลุ่มเกษตรกรและกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่อำเภอที่รับผิดชอบ 2. ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานสหกรณ์ทุกประเภท และกลุ่มเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอที่รับผิดชอบ 3. ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์ทุกประเภท และกลุ่มเกษตรกร ในเขตพื้นที่อำเภอที่รับผิดชอบ 4. เผยแพร่และให้ความรู้ ความเข้าในเกี่ยวกับระบบสหกรณ์ อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไปในเขตพื้นที่อำเภอที่รับผิดชอบ 5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย แนวทางปฏิบัติงาน กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ โดยสรุปแนวทงปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. เผยแพร่ และให้ความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ว่าด้วยเรื่องอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป 2. ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3. ให้การส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุน แนะนำ การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ให้ดำเนินงานได้ภายหลังการจัดตั้ง รวมถึงการส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุน แนะนำในการควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์ และการเลิกสหกรณ์ 4. ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ๆ ในการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้องค์กรเข้มแข็งพึ่งตนเองได้และเป็นที่พึ่งของมวลสมาชิกได้อย่างแท้จริง 5. ส่งเสริม แนะนำ เร่งรัด การดำเนินงานของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนดต่าง ๆ คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ นโยบาย มตีที่ประชุมใหญ่และมติที่ประชุมคณะกรรมการ รวมทั้งการแนะนำส่งเสริมให้กรรมการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติที่ประชุมใหญ่ หรือมติที่ประชุมคณะกรรมการ โดยมีแนวทางการปฏิบัติงาน เช่น แนะนำให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรส่งสำเนารายงานการประชุมใหญ่หรือรายงานการประชุมคณะกรรมการให้กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ทราบ เป็นต้น 6. ส่งเสริม แนะนำ การปฏิบัติงาน การบริหารงาน การเงินและการบัญชีแก่สหกรณ์กลุ่มเกษตรกร เพื่อให้ปฏิบัติงานได้ถูกต้อง เป็นการป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น แนะนำให้สหกรณ์บันทึกรายงานในบัญชีเอกสารทางการเงินให้ถูกต้องครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน การสอบทานหนี้สิน การสอบทานหุ้น และเงินฝากของสมาชิกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้ง การแนะนำให้กรรมการสหกรณ์ได้ตรวจนับเงินสดอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น 7. ให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตาม การดำเนินการแก้ไขปัญหาการทุจริต ข้อบกพร่องของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ตามที่รองนายทะเบียนสหกรณ์วินิจฉัย สั่งการ 8. ปฏิบัติงานรวมวางแผน ร่วมคิดกับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรในการกำหนดแนวทางการพัฒนาร่วมกัน ตามขั้นตอนดังนี้ 1) จัดให้มีการประชุมเสวนากับสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร คณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ เพื่อค้นหาความต้องการ สภาพปัญหาของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรในเบื้องต้น 2) วิเคราะห์ความต้องการ สภาพปัญหา แยกแยะและจัดกลุ่มของความต้องการสภาพปัญหาให้ชัดเจน โดยดำเนินการร่วมกับกลุ่มงานวิชาการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดตามภารกิจที่เกี่ยวข้องของแต่ละกลุ่มงาน เพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริมงานสหกรณ์โดยใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ประกอบการพิจารณาด้วย เช่น รายงานผู้สอบบัญชี รายงานการตรวจการ แผนกลยุทธ์ รายงานการประชุมใหญ่ และแฟ้ม 19 รายการของสหกรณ์ เป็นต้น 3) นำแนวทางในการส่งเสริมงานสหกรณ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2) เข้าร่วมเสวนากับคณะกรรมการ หรือฝ่ายจัดการ เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร หรือเพื่อจัดแผนปฏิบัติงานสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ประจำปี (Bottom up) 4) ปฏิบัติงานร่วมกับกลุ่มงานทางวิชาการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดในการพิจารณาแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติงานประจำปีของกรม จังหวัด เพื่อนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สหกรณ์ใช้ประกอบในการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีของสหกรณ์ (top Down) 5) นำแนวทางการปฏิบัติในข้อ 3) และ 4) เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ของกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ให้สอดคล้องกับนโยบาย ภารกิจของกรม จังหวัด รวมทั้งสนองความต้องการของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ 9. ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจและส่งเสริมการตลาดแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่น ๆ ที่จัดตั้งขึ้นมาให้มีการดำเนินการทางด้านธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม โดยถ้ามีผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนด้านการตลาดแก่สหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย 10. ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์ และรูปแบบการบริการของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่น ๆ ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า (Value add) 11. ส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจของสหกรณ์ให้มีการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างสหกรณ์กับสหกรณ์ หรือสหกรณ์กับกลุ่มต่าง ๆ หรือสหกรณ์กับบุคคลภายนอกทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเชื่อมโยงเครือข่ายของสหกรณ์ให้ทราบโดยทั่วถึงกัน 12. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคล การบริหารการจัดการ และการควบคุมภายในเพื่อพัฒนาให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่น ๆ มีความเข้มแข็ง โดยการแนะนำช่วยเหลือในการวางแผน การจัดทำแผนกลยุทธ์ การจัดทำโครงการและกิจกรรมการผลิตในระดับที่เป็นธุรกิจได้อย่างครบวงจรและมีศักยภาพ 13. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับขนาดโครงสร้าง ปริมาณธุรกิจระบบงาน วิธีดำเนินการ รวมทั้งแนะนำให้มีการควบคุมภายในของสหกรณ์ และกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 14. วิเคราะห์ และเสนอแนะเกี่ยวกับความเห็นไปได้ของโครงการในเบื้องต้น เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินทุน และสินเชื่อให้กับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่น ๆ ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหน อย่างไร โดยพิจารณาถึงองค์ประกอบเกี่ยวกับการลงทุน การจัดหาแหล่งเงินทุน รวมทั้งการเสนอแนะแนวทางการบริหารเงินทุนของสหกรณ์ และกลุ่มต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่ากับการลงทุน 15. ร่วมติดตาม ประเมินผลการให้สินเชื่อแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ หรือหน่วยงานอื่น ๆ เช่น เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พร้อมทั้งเร่งรัดการส่งชำระหนี้ การเตือนหนี้ที่ถึงกำหนดชำระ 16. ให้คำแนะนำสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อการวางแผน และการพัฒนางาน 17. ประสานให้ความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแล รักษา ซ่อมแซมเทคโนโลยีการผลิตของสหกรณ์หรือกลุ่มต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่อง 18. ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงาน และโครงการต่าง ๆ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 19. ประสานกับกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ เพื่อบูรณาการงาน ข้อมูล ข่าวสาร และองค์ความรู้ด้านวิชาการต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลและความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้การส่งเสริม แนะนำสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเชื่อมโยงให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้ 1) ด้านการส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ประสานกับกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อประชุมชี้แจงผู้ประสงค์จัดตั้ง คณะผู้ก่อตั้ง ผู้ซึ่งเป็นสมาชิก ตลอดจนถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งจนสำเร็จและสามารถจัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน 90 วันได้ ทั้งนี้ ขั้นตอนดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร นั้นให้เป็นไปตามกระบวนงาน (Work Flow) ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกำหนด รวมทั้งส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร หรือกลุ่มอื่น ๆ ให้ได้มาตรฐานหรือระดับชั้นตามที่กรมกำหนด 2) ด้านการพัฒนาธุรกิจ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ประสานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจ การส่งเสริมการตลาด การส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์ การสร้างเครือข่าย การเชื่อมโยงเครือข่ายให้กับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพและกลุ่มอื่น ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ 3) ด้านการพัฒนาการบริหารการจัดการ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ประสานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ ในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การควบคุมภายใน การจัดโครงสร้างและการจัดระบบงาน การจัดหา การลงทุน และการบริหารเงินทุนของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรให้กับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่น ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ 4) ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ประสานกับศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ในพื้นที่ เพื่อจัดฝึกอบรม ประชุม เสวนาให้กับคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 20. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
นิคมสหกรณ์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมสหกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้ 1. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ดินให้แก่ราษฎรในเขตนิคมสหกรณ์ตามกฏหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ |
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดปราจีนบุรี
ศาลากลางจังหวัด ชั้น 3 ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี 25230
โทรศัพท์. 0-3745-404-4 โทรสาร. 0-3745-436-0
E-mail.
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดปราจีนบุรี : ภาพประกอบและวีดีทัศน์ จาก เว็ปไซด์ freepik.com
Copyright © 2022 Prachinburi provincial cooperative office